ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์

     1.โปรเซสเซอร์ (Processor) (CPU)   หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (Chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ

        1.1 หน่วยคำนวณ และตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณ และตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็นคำสั่งต่อไป

        1.2 หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผล และการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูล และชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์ดแวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณ และตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณ และตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยควบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง

        1.3หน่วยความจำหลัก (Main Memory) คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล ถ้าเปรียบเทียบกับร่างกายของมนุษย์โพรเซสเซอร์ก็น่าจะเปรียบเทียบเป็นเหมือนสมองของมนุษย์นั่งเอง ซึ่งคอยคิดควบคุมการทำงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นถ้าจัดระดับความสำคัญแล้วโพรเซสเซอร์ก็น่าจะมีความสำคัญเป็นอันดับแรก

Processor

 

     2.เมนบอร์ด (Mainboard)  เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรหลักสำหรับติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เกือบทั้งหมดโดยจะมีหน้าที่ในการประสานงาน ติดต่อรับส่งข้อมูลโดยผ่านระบบบัสบนเมนบอร์ดก็จะมีอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ รวมอยู่ด้วยเช่นสล็อต, ซ็อกเก็ตสำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ชิพเซ็ตที่ทำหน้าที่เหมือนแม่บ้านคอยจัดการ ประสานงานให้กับอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้งบนเมนบอร์ดนอกจากนี้ก็ยังรวมเอาวงจร ชิพควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ (Harddisk Controller) พอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกเช่นพอร์ตขนาน (Parallel Port) พอร์ตอนุกรม (Serial Port) และพอร์ตยูเอสบี (USB Port) เป็นต้น

เมนบอร์ด (Mainboard)

 

     3.หน่วยความจำ (Memory) (RAM) แรม คือ หน่วยความจำที่ทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลร่วมกับซีพียูอยู่ตลอดเวลาข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่จะต้องมาพักที่แรมเสมอก่อนจะถูกส่งไปยังซีพียูดังนั้นยิ่งแรมมีขนาดมากขึ้นเท่าไหร่ก็สามารถพักข้อมูลไว้กับแรมได้มากขึ้นทำให้ซีพียูไม่ต้องเรียกข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์บ่อย ๆ ซึ่งฮาร์ดดิสก์มีความเร็วในการอ่าน และเขียนข้อมูลน้อยกว่าแรมส่งผลให้ระบบของเราทำงานได้เร็วขึ้นในปัจจุบันแรมมีหลายชนิดด้วยกันคือ SDRAM, DDR SDRAM และ RAMBUSSDRAM จะมีลักษณะเป็นแผงยาวมีขาสัญญาณขนาด 168 Pin 64 Bit สำหรับติดตั้งกับซ็อกเก็ตแรมแบบ DIMM ส่วนใหญ่แรมที่ขายกันเดี๋ยวนี้จะเป็นแบบ PC - 100 และ PC - 133 ในปัจจุบัน SDRAM ได้รับความนิยมน้อยมากที่มีใช้งานอยู่ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องรุ่นเก่าเสียมากกว่าเนื่องจากการเข้ามาแทนที่ของ DDR SDRAM ที่มีคุณภาพดีกว่าในราคาที่ใกล้เคียงกันนั่นเอง

     DDR SDRAM มีลักษณะคล้ายกับ SDRAM แต่จะมีขนาด 184 Pin และเนื่องจากทำงานทั้งขอบขาขึ้น และขาลงของสัญญาณนาฬิกาทำให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าถ้าเทียบกับ SDRAM โดย DDR SDRAM จะมีบัสให้เลือกใช้งานอยู่หลายขนาดเช่น 266, 333 และ 400 เป็นต้นปัจจุบัน DDR SDRAM เข้ามาเป็นหน่วยความจำมาตรฐานใหม่ที่มาแทนที่ SDRAM ไปเรียบร้อยแล้ว และในอนาคตมีไม่นานหน่วยความจำแบบ DDR 2 ก็กำลังเข้ามาเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

     RAMBUS เป็นแรมชนิดใหม่ที่อินเทลเคยพยายามผลักดันให้เป็นมาตรฐานใหม่ของหน่วยความจำในอนาคตแต่ในปัจจุบันดูแล้วสถานการณ์ของ RAMBUS นั้นก็ไม่มีอะไรที่หวือหวามากนัก RAMBUS มีลักษณะที่แตกต่างจาก SDRAM และ DDR SDRAM อย่างเห็นได้ชัดโดยใช้อินเทอร์เฟชแบบ RIMM ขนาด 299 Pin นอกจากนี้ยังมีความเร็วบัสที่สูงถึง 400 MHz และสามารถส่งถ่ายข้อมูลได้ถึง 800 MB ต่อวินาที

RAM

 

     4.ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่สำหรับเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลสำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถเก็บไว้ในแผ่นฟล็อบปี้ดิสก์ที่มีความจุน้อยได้ภายในฮาร์ดดิสก์จะประกอบไปด้วยแผ่นจานโลหะแข็ง (Platter) วางซ้อนกันแต่จะไม่ติดกันโดยจะมีแขนที่เป็นตัวเคลื่อนหัวอ่านเข้าไปอ่าน และเขียนข้อมูลตามตำแหน่งที่ต้องการและจะไม่มีการสัมผัสกับแผ่นโดยตรงแต่จะมีช่องว่างห่างกันประมาณ 10 ไมครอนทำให้การอ่านข้อมูลจากแผ่น Platter มีความเร็วสูงเนื่องจากไม่มีการเสียดสีที่เกิดจากการสัมผัสโดยจะมีความเร็วรอบอยู่ 2 แบบคือ 5400/นาที และ 7200/นาที

     นอกจากนี้ฮาร์ดดิสก์ยังมีแผ่นวงจรที่อยู่ด้านล่างเป็นตัวควบคุมการหมุนของมอนิเตอรแขนที่เป็นตัวเคลื่อนหัวอ่าน และยังทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารโดยส่งผ่านข้อมูลไปยังเมนบอร์ดอีกด้วยซึ่งแผ่นวงจรด้านล่างนี้ควรระวังอย่าไปวางไว้กับแผ่นโลหะหรืออุปกรณ์นำไฟฟ้าทุกชนิดเพราะจะทำให้เกิดการลัดวงจรก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวฮาร์ดดิสก์ได้โดยเฉพาะการวางฮาร์ดดิสก์ไว้บนเคสแล้วเปิดการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งหากเกิดปัญหาไฟรั่วขึ้นมาจะทำให้มีไฟฟ้าเข้ามาสู่ตัวเคส และผ่านไปยังฮาร์ดดิสก์ทำให้แผ่นวงจรของฮาร์ดดิสก์อาจเสียหายได้เนื่องจากข้อจำกัดในการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมต่อแบบเดิม ซึ่งเป็นแบบ IDE/E - IDE แทบไม่มีการพัฒนาความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลไปได้อีกโดยหยุดไว้ที่ความเร็วสูงสุดเพียง 133 MB/s จึงทำให้บรรดาผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ได้ทำการพัฒนามาตรฐานของฮาร์ดดิสก์ใหม่ขึ้นมาซึ่งเรียกว่าเป็นฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA โดยมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลถึง 150 MB/s และมีหน่วยความจำแคชถึง 8 MB ซึ่งจะสามารถพัฒนาความเร็วได้ถึง 300 MB/s และ 600MB/s ในเวอร์ชั่นต่อ ๆ ไป

Harddisk

 

     5.การ์ดแสดงผล (Display Card) การ์ดแสดงผลหรือการ์ด VGA เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการนำข้อมูลแบบดิจิตอลมาเปลี่ยนเป็นสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์แล้วนำไปแสดงผลออกทางจอภาพโดยใช้อินเทอร์เฟชแบบสล็อต AGP หรือ PCI Express ทำให้สามารถแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว และการ์ดแสดงผลในปัจจุบันมีการพัฒนาชิพสร้างกราฟิก 3 มิติ ไปอย่างรวดเร็วทำให้สามารถแสดงผลภาพกราฟิก 3 มิติ ได้อย่างสมจริง และสวยงามมากขึ้นกว่าในอดีต

Display Card

 

     6.การ์ดเสียง (SoundCard) การ์ดเสียงหรือซาวด์การ์ดที่หน้าที่ในการให้กำเนิดเสียงจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยต้องทำงานควบคู่ไปกับลำโพงด้วยในปัจจุบันมักจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานประเภทมัลติมีเดียที่ให้ความบันเทิงต่าง ๆ เช่นใช้ดูหนังฟังเพลงร้องคาราโอเกะเล่นเกมงานเหล่านี้ต่างก็ต้องพึ่งพาระบบเสียงที่ช่วยเพิ่มอรรถรสในการทำงานเหล่านี้ทั้งสิ้นดังนั้นคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงมีการติดตั้งระบบเสียงให้กับคอมพิวเตอร์แทบทุกเครื่องมีทั้งแบบ Sound OnBoard หรือแบบที่เป็นการ์ดโดยจะต้องนำมาติดตั้งลงบนสล็อตในเมนบอร์

SoundCard

 

     7.ฟล็อบปี้ไดรฟ์ (Floopy Drive) ฟล็อบปี้ไดรฟ์เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการอ่าน และบันทึกข้อมูลจากแผ่นฟล็อบปี้ดิสก์ที่มีขนาด 3.5 นิ้วความจุ 1.44 MB โดยจะมีหัวอ่านคอยเลื่อนเข้าไปอ่านข้อมูลจากแผ่นที่เคลือบสารแม่เหล็กของฟล็อบปี้ดิสก์ทั้งสองด้านซึ่งหัวอ่านนี้จะมีการสัมผัสกับแผ่นแม่เหล็กโดยตรงจึงทำให้การอ่านข้อมูลไม่สามารถอ่านได้รวดเร็วเหมือนฮาร์ดดิสก์โดยมีความเร็วประมาณ 300 รอบต่อนาทีเท่านั้น

Floopy Drive

 

     8.ซีดีรอมไดรฟ์ (CD-ROM Drive) ซีดีรอมไดรฟ์เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีเพียงอย่างเดียวส่วนใหญ่จะใช้งานในด้านการติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมต่าง ๆ รวมไปถึงงานที่เกี่ยวกับความบันเทิงเช่นดูหนังฟังเพลง และงานด้านมัลติมีเดียด้วยโดยมีหน่วยความเร็วในการอ่านข้อมูลเป็น X เช่น 48X หรือ 50X เป็นต้นในปัจจุบันแทบจะเรียกได้ว่าคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีไดรฟ์ซีดีรอมอย่างน้อยหนึ่งไดรฟ์เสมอซึ่งได้กลายเป็นมาตรฐานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในตอนนี้แล้วซีดีรอมไดรฟ์จะการอ่านข้อมูลด้วยความเร็วในการหมุนแผ่นที่ไม่คงที่โดยที่จะอ่านข้อมูลที่อยู่วงนอกของแผ่นซีดีด้วยความเร็วสูงสุด และจะค่อย ๆ ลดความเร็วลงมา

CD-ROM Drive

 

     9.เมาส์ และคีย์บอร์ด (Mouse and Keyboard) เมาส์ และคีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์สำหรับทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งส่วนใหญ่หากเมาส์ และคีย์บอร์ดเสียจะไม่นิยมซ่อมเพราะเดี๋ยวนี้เมาส์ และคีย์บอร์ดมีราคาไม่แพงถ้ามัวแต่มานั่งซ่อมจะไม่คุ้มกับเวลาที่เสียไป

เมาส์ และคีย์บอร์ด

 

     10.เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรามักจะมองข้ามไป และเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเพราะถ้าขาดเจ้าตัวนี้แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเก่งของเราก็เปรียบเสมือนกล่องเหล็กธรรมดา ๆ ใช้การอะไรไม่ได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็คือ แหล่งจ่ายไฟ หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) นั่นเองเพาเวอร์ซัพพลายมีหน้าที่หลักก็คือ เปลี่ยนแรงดันกระแสสลับจากไฟบ้าน 220 โวลท์เอซี ให้เป็นแรงดันไฟตรงดีซีที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้แหล่งจ่ายไฟคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือคอมพิวเตอร์พีซีนั้น ส่วนใหญ่จะบรรจุในเคสด้านหลังถ้ามองไปที่หลังเคสจะเห็นก่องเหล็กสี่เหลี่ยมมีช่องเสียบสายไฟ และพัดลมเพื่อระบายความร้อน

Power Supply

 

     11.จอภาพ (Monitor) จอภาพหรือจอมอนิเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลจากการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งภายในมีวงจร และระบบการทำงานคล้ายกับเครื่องรับโทรทัศน์เกือบทุกอย่างแต่จะมีแผงวงจรที่ซับซ้อนน้อยกว่ามากโดยจะแตกต่างกันตรงที่โทรทัศน์มีภาครับสัญญาณทีวีแต่จอมอนิเตอร์มีเพียงภาครับสัญญาณดิจิตอลจากการ์ดแสดงผลเท่านั้น

Monitor

 

     12.เคส (Case) เคส คือ กล่องหรือโครงสร้างสำหรับเก็บประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ คอมพิวเตอร์ไว้ภายในนั้น และในตัวเคสก็จะมีในส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย

Case