สามพันโบก เป็นแก่งหินขนาดใหญ่ในลำน้ำโขง ซึ่งจะปรากฏให้เห็นเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง (ประมาณเดือนมกราคม – เมษายน) ที่เรียกว่า "สามพันโบก" เพราะบนแก่งหินมีแอ่งน้ำขนาดเล็กใหญ่จำนวนมากกว่า 3,000 แอ่ง (คำว่า "โบก" เป็นภาษาลาว แปลว่า "แอ่ง") จึงเรียกที่นี่ว่า สามพันโบก
• สามพันโบก นอกจากลักษณะของแก่งหินยังมีขนาดใหญ่มากคล้ายภูเขากลางลำน้ำโขง ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนเว้าแหว่ง มองเห็นเป็นภาพศิลปะ มีรูปร่างแตกต่างกันออกไป ใหญ่บ้างเล็กบ้าง บ้างเป็นรูปวงรี รูปดาว รูปวงกลม และรูปอื่นๆ อีกมากมาย ตามแต่ที่เราจะจินตนาการ เพราะมีมากกว่า 3,000 แอ่ง ที่นี่จึงได้ฉายาว่า "แกรนแคนย่อนเมืองไทย"
• การท่องเที่ยวสามพันโบก นักท่องเที่ยวนิยมนั่งเรือจากหาดสลึงที่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร ล่องตามลำน้ำโขงระยะทาง 4 กิโลเมตร ระหว่างทางจะผ่าน "ปากบ้อง" จุดแคบที่สุดของแม่น้ำโขง ซึ่งมีความกว้างเพียง 56 เมตร และ "หินหัวพะเนียง" เป็นแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคอน ในภาษาท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของชื่อ "บ้านสองคอน"

 

 

      

มีตำนานเล่าขานกันต่อๆ มาว่า “นายเตว” กับพวก 2 – 3 คนได้เข้ามาตีผึ้งที่ผาน้ำตกแห่งนี้ โดยออกอุบายนำเถาวัลย์มาพันเป็นเชือกหย่อนลงไปเบื้องล่างของน้ำตก นายเตวอาสาโรยตัวลงไปเพื่อตีผึ้ง ซึ่งมีรังผึ้งเกาะติดอยู่กับหน้าผาหลายร้อยรัง โดยมิได้บอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง ในระหว่างที่นายเตวกำลังตีผึ้งอยู่นั้นได้เกิดอาเพศขึ้น เพื่อนที่อยู่ด้านบนมองเห็นเถาวัลย์เป็นงูขนาดยักษ์เลื้อยพันขึ้นมา ด้วยความตกใจกลัวจึงใช้มีดตัดฟันลงไปตรงเถาวัลย์ขาดสะบั้นทำให้ร่างของนายเตวที่ห้อยโหนอยู่นั้นร่วงหล่นลงสู่เบื้องล่างของน้ำตกเสียชีวิต ยังผลให้น้ำตกแห่งนี้ได้ชื่อเรียกในเวลาต่อมาว่า “น้ำตกบักเตว

               ต่อมาได้มีการประกาศจัดตั้ง “อุทยานแห่งชาติภูจอง–นายอย” ขึ้นในปี 2530 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวน้ำตก และมักจะเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตจากการลงเล่นบริเวณน้ำตกแห่งนี้ จนกระทั่งมีญาติของผู้เสียชีวิตมาเล่าว่า ผู้เสียชีวิตได้มาเข้าฝันแล้วบอกว่า นายเตวไม่ต้องการให้ใครมาเรียกชื่อน้ำตกแห่งนี้ว่า “น้ำตกบักเตว” เนื่องจากเป็นคำไม่สุภาพและได้ให้เปลี่ยนชื่อน้ำตกแห่งนี้เสียใหม่ ในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2535 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อ “น้ำตกบักเตว” เป็น “น้ำตกห้วยหลวง” ตามชื่อของลำห้วยซึ่งไหลพาดผ่านน้ำตกแห่งนี้

               น้ำตกห้วยหลวง (น้ำตกบักเตว) ตั้งอยู่กลางป่าสมบูรณ์ไหลตกจากหน้าผาสูง 45 เมตร ถือได้ว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุด สูงที่สุด และงดงามที่สุดของภาคอีสานตอนล่าง  ไหลตกจากหน้าผาสูงชัน ลงสู่แอ่งน้ำใหญ่ และลานหินหาดทราย ด้านล่างมีบันไดทางลงจากศาลาชมทิวทัศน์สู่น้ำตกด้านล่าง นอกจากนี้ ยังมีน้ำตกอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกทลายแห่ง เช่น น้ำตกเกิ้งแม่ฟอง น้ำตกถ้ำบอน น้ำตกจุ๋มจิ๋ม น้ำตกห้วย

 

 

ทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่ใจกลางเมือง บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด เป็นสวนสาธารณะประจำเมืองที่มีสภาพภูมิทัศน์งดงาม มีประตูทางเข้า 4 ทิศ 4 ประตู คือ อุบลเดชประชารักษ์ อุบลศักดิ์ประชาบาล อุบลการประชานิตย์ และอุบลกิจประชากร ภายในสวนมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ คือ
 
 อภิมหาเทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ พระสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ.2542 และเป็นที่หล่อหลอมจิตศรัทธาของชาวอุบลราชธานีให้เป็นหนึ่งเดียว
 
 ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี เป็นสถานที่สักการะของชาวเมืองและผู้มาเยี่ยมเยือน ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี 2515
 
 อนุสาวรีย์พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอุบลฯ
 
 ปฏิมากรรมสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) พระเถระที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นนักปราชญ์แห่งภาคอีสาน
 
 ปฏิมากรรมพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) พระเถระที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ
 
 อนุสาวรีย์แห่งความดี (Monument of Merit) เป็นเชลยศึกชาวต่างประเทศ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความเมตตาปราณี และคุณงามความดีของชาวเมืองอุบลาชธานี
 
 ปฏิมากรรมร่วมใจก้าวไปข้างหน้า สร้างขึ้นตามโครงการปฏิมากรรม กับสิ่งแวดล้อมเพื่อเยาวชน ซึ่งแสดงถึง ความสมานฉันท์แห่งความเป็นพี่น้องระหว่าง 4 ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
 
 ทุ่งศรีเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันเป็นปอดแห่งใหญ่ที่สำคัญของคนเมืองอุบลฯ เทศบาลนครอุบลฯ ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบมีความร่มรื่นสวยงาม กำหนดเป็นเขตปลอดมลภาวะ เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และใช้ออกกำลังกาย สำหรับชาวอุบลฯ และนักท่องเที่ยวที่มาเยือน

 

 

 แก่งตะนะ เป็นแก่งกลางลำน้ำมูลที่ใหญ่ที่สุด กลางแก่งตะนะมีโขดหินทรายมหึมา เป็นเกาะกลางลำน้ำมูลที่เกิดจากลำน้ำมูลทั้งสองสายที่เชี่ยวกราก และจะกัดเซาะลงในแนวหินสูงประมาณ 1 เมตร ถ้าสังเกตเกาะกลางแก่งตะนะจะเห็นสิ่งก่อสร้างรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยฝรั่งเศสยังล่าอาณานิคม เพื่อใช้เป็นเครื่องชี้ร่องน้ำในการเดินเรือ บริเวณแก่งตะนะมีสายน้ำที่เชี่ยวและลึก ใต้ท้องน้ำเป็นหลุมหิน โขดหิน ทั้งยังมีโพรงถ้ำใต้น้ำหลายแห่ง จึงทำให้มีปลามาอาศัยบริเวณแก่งตะนะชุกชุม ช่วงที่เหมาะในการไปเที่ยว คือ เดือนพฤศจิกายน-มิถุนายน   

 

 

 

เป็นแก่งที่สวยงามในแม่น้ำมูล ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจากตัวเมือง อุบลราชธานี ตามทางหลวงหมายเลข 217 ประมาณ 45 กม. คำว่า "สะพือ" เพี้ยนมาจากคำว่า "ซำฟืด" หรือ "ซำปึ้ด" ซึ่งเป็นภาษาส่วยแปลว่า งูใหญ่ หรืองูเหลือม แก่งสะพือเป็นแก่งที่มีหินน้อยใหญ่ สลับซับซ้อน เมื่อกระแสน้ำไหลผ่านกระทบหิน แล้วเกิดเป็นฟองขาวมีเสียงดังตลอดเวลา ช่วงที่เหมาะ สำหรับเที่ยวชมแก่งสะพือคือช่วงหน้าแล้ง ราวเดือนมกราคม-พฤษภาคม เพราะน้ำจะลดเห็นแก่งหินชัดเจน สวยงาม ส่วนหน้าฝนน้ำจะท่วมมองไม่เห็นแก่ง (ตามรูป ถ่ายช่วงหน้าฝนปี 2543 ครับ ก็ไม่เห็นแก่งเลย) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จพระราชดำเนินมาชมแก่งนี้ด้วย 2 ครั้ง ริมฝั่งแม่น้ำมีศาลาพักร้อน และร้าน ขายสินค้าพื้นเมือง ในวันหยุดมีประชาชนมาเที่ยวพักผ่อน กันเป็นจำนวนมาก

 

 

 

ซืนวาน หรือ ตลาดซืนวาน ตั้งอยู่ถนนสถลมาร์ค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ 5 ไร่เศษ ประกอบด้วยอาคารไม้ชั้นเดียวสีน้ำตาลเข้ม ที่ชวนให้หวนระลึกถึงบ้านหลังเก่าอันอบอุ่น เสริมเติมแต่งด้วยสิ่งคุ้นเคยเมื่อวันวาน โดยการนำข้าวของเครื่องใช้ในอดีต เช่น ผ้าขาวม้า กระติบข้าวเหนียว หรือเอกลักษณ์อื่น ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์รวมถึงวิถีชีวิตของชาวอุบลฯ มาประกอบเรื่องราว ภายใต้บรรยากาศต้นไม้และดอกไม้ ที่ร่มรื่น รวมทั้งร้านค้าต่าง ๆ เช่น ร้านกาแฟสด โซนร้านอาหาร โซนขายเสื้อผ้า ขายของที่ระลึก ที่มีให้ได้เลือกชมและเลือกชิมกันอย่างเพลิดเพลิน

          และนอกจากชิม ช้อป ภายใน ซืนวาน แล้ว จุดขายสำคัญอยู่ที่การปลดปล่อยอารมณ์ไปกับการเดินชม เดินเที่ยว พร้อมถ่ายรูปแนว ๆ ไปกับบรรยากาศของเก่า ๆ สมัยอดีตรอบ ๆ ตัว ซึ่งช่วยขุดคุ้ยความทรงจำให้ฟุ้งกระจายแจ่มชัด โดนใจทั้งวัยผู้ใหญ่หรือวัยเด็ก ไม่ว่าจะเป็น โมเดลยอดมนุษย์อุลตร้าแมน, โมเดลอีที มนุษย์ต่างดาวจากหนังอมตะกว่า 3 ทศวรรษก่อน, เก้าอี้ร้านตัดผมสมัยคุณพ่อไปโรงเรียน, ตู้ไปรษณีย์สีแดงสดรูปทรงแปลกตา, วิทยุ-โทรทัศน์ ในยุคที่อินเทอร์เน็ตยังไม่เกิด หรือโปสเตอร์ภาพวาดภาพยนตร์ในหลายสิบปีก่อนสีสันสดใส โดยของเก่าที่นำมาตกแต่งเพิ่มเติมบรรยากาศความหลังทั้งหมดนั้น ประมาณร้อยละ 80 คือของสะสมที่เก่าจริง ส่วนที่เหลือเป็นของเก่าผลิตใหม่ เนื่องจากหายากในปัจจุบันแต่ทุกอย่างก็ล้วนเข้ากันได้อย่างกลมกลืนในซืนวาน

          นอกจากจะมีสินค้าให้เลือกซื้อกันแบบจุใจแล้ว ซืนวาน ยังมีการจัดจุดถ่ายรูปในมุมต่าง เพื่อเก็บเอาไว้เป็นความทรงจำและให้ความรู้สึกเหมือนกับกลายเป็นวัยรุ่น เหมือนได้ย้อนวัยไปอีกครั้ง กับบรรยากาศในอดีตสมัยรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ที่ใช้ของเก่าเก็บที่ยังหลงเหลืออยู่ และของเก่าที่ผลิตขึ้นมาใหม่ มาผสมกลมกลืนให้แปลกใหม่ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

 

 

 

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอุทยานฯ ลำดับที่ 74 ของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 212,500 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขา มีหน้าผาสูงชันหลายแห่ง สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง ลักษณะเป็นป่าโปร่ง ต้นไม้แคระแกร็น แต่มีความสวยงามตามธรรมชาติ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง ประดู่ และเหมือดต่างๆ ส่วนพืชพื้นล่างจะเป็นพวกไผ่ป่า หญ้าต่างๆ และข่อยหิน นอกจากนี้ตามซอกลานหินทั่วไปยังมีไม้ดอกที่สวยงาม เช่น หยาดน้ำค้าง กระดุมเงิน มณีเทวา ฯลฯ ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากกระจายทั่วพื้นที่
ภายในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจมากมาย เช่น
เสาเฉลียง อยู่ก่อนถึงผาแต้มประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นเสาหินธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำและลมเป็นเวลานับล้านปี มีลักษณะคล้ายดอกเห็ดเรียงรายกันอยู่มากมาย ดูแปลกตายิ่งนัก
ผาแต้ม เป็นหน้าผาสูงชันที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม และยังเป็นจุดที่เห็นพระอาทิตย์ขึ้นก่อนที่แห่งใดในประเทศไทย นอกจากนี้บริเวณผนังหน้าผาด้านล่าง ยังปรากฏภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์เรียงรายอยู่ประมาณ 300 ภาพ ซึ่งทางอุทยานฯ ได้ทำทางเดินสำหรับลงไปชมไว้แล้ว
ป่าดงนาทาม อยู่ในบริเวณภูนาทาม ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 36 กิโลเมตร การท่องเที่ยวที่ป่าดงนาทามเป็นลักษณะการเดินป่าชมธรรมชาติ โดยระหว่างทางจะพบสิ่งที่น่าสนใจมากมาย เช่น เสาเฉลียงคู่ น้ำตกห้วยพอก ผาชะนะได ผากำปั่น ผาหินแตก น้ำตกกวางโตน หินโยก ภูจ้อมก้อม ฯลฯ
น้ำตกสร้อยสวรรค์ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่เกิดจากลำห้วย 2 สาย คือ ห้วยสร้อย และห้วยไผ่ ไหลจากหน้าผาคนละด้านมาบรรจบกัน มองดูคล้ายสร้อยคอ วิธีเดินทางคือ ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2112 เมื่อถึงกิโลเมตรที่ 20 จะพบทางแยกขวา ให้เลี้ยวเข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าต่ออีก 500 เมตร 
 ค่าเข้าชม คนไทยผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท /ชาวต่างชาติผู้ใหญ่ 400 บาท เด็ก 200 บาท อัตราค่าบริการ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยลด 50 เปอร์เซ็นต์ วันจันทร์-วันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2558 ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท

 

 

 

ห้วงวันเวลาของฤดูกาลที่เลยผ่านจากฤดูฝนสู่ฤดูหนาว ลมเย็นพัดเบาๆ หอบเอาความหนาวมาปกคลุมสู่ผืนป่าดงนาทาม ฤดูกาลแห่งการเที่ยวภู นอนดอยรับลมหนาวของใครหลายคนที่รอคอยมาถึงแล้ว เราจะพาทุกท่านไปสัมผัสกับอากาศหนาว นอนนับดาว สูดกลิ่นหอมของดอกไม้ป่า ชมทะเลหมอกยามเช้าที่ผาชะนะได จังหวัดอุบลราชธานี

“พรุ่งนี้พระอาทิตย์ขึ้นที่ผาชะนะได อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี” เสียงจากการรายงานพยากรณ์อากาศหลังข่าวภาคค่ำที่หลายคนเคยได้ฟังจนชินหู ทำไมพระอาทิตย์ต้องขึ้นที่ผาชะนะได ผาชะนะไดอยู่ที่ไหน สวยงามเพียงใด คงเป็นคำถามที่ค้างคาใจของใครหลายคนกันมานาน

ผาชะนะได เป็นภูเขาที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 450 เมตร ส่วนของหน้าผาตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของประเทศไทย เป็นจุดเริ่มต้นคำนวณเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ตั้งอยู่ในป่าดงนาทาม ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นจุดที่มองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นเป็นจุดแรกของประเทศไทย ทิวทัศน์เบื้องล่างจะเป็นแม่น้ำโขงกั้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศไทยและลาว เบื้องหน้าเป็นภูเขาแดนลาวที่วางเรียงรายสลับซับซ้อนมองดูสวยงาม ฤดูหนาวนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความสวยงามของทะเลหมอกเหนือลำน้ำโขง

 

 

 

แม่น้ำสองสีหรือดอนด่านปากแม่น้ำมูล อยู่ในเขตบ้านเวินบึก นั่งเรือจากตัวอำเภอโขงเจียมไปประมาณ 5 นาที เป็นบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำโขงสีปูน แม่น้ำมูลสีคราม อยู่ห่างจากจังหวัด อุบลราชธานี 84 กม. จุดที่สามารถมองเห็นแม่น้ำสองสีได้อย่างชัดเจน คือ บริเวณลาดริมตลิ่ง แม่น้ำมูล แม่น้ำโขงหน้าวัดโขงเจียม และบริเวณบางส่วนของหมู่บ้านห้วยหมาก ในเดือนเมษายน จะเป็นเดือนที่ เห็นความแตกต่างของสีน้ำได้ชัดเจนที่สุด นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้เคียงยังมีบริการเรือพาล่องชม ทัศนียภาพสองฝั่งแม่น้ำ หรือซื้อของที่ระลึก ที่ตลาดหมู่บ้านในฝั่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวอีกด้วย

 

 

 

อุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี หรือ สวนสัตว์อุบล ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติดงฟ้าห่วน บริเวณตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวจังหวัด 12 กิโลเมตร มีพื้นที่จำนวน 1,217 ไร่ โดยวางรูปแบบของสวนสัตว์อุบลให้เป็น Jungle Park นั้นคือ การนำสวนสัตว์เข้ามาผสมผสานกับความสมบูรณ์ของป่าไม้ภายในพื้นที่ รวมถึงใช้การอนุรักษ์และหาประโยชน์จากสภาพผืนป่าแบบระมัดระวังและรอบคอบ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นป่าและลดการทำลายสภาพพื้นที่เดิมให้มากที่สุด อีกทั้งในบริเวณพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติดงฟ้าห่วน เป็นแหล่งอนุรักษ์ต้นยางนากว่า 300 ต้น ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดอุบลราชธานีอีกด้วย